รายงานผลการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

5 ส่วนที่ ๒ การติดตามและประเมินผล สรุปผลการติดตามและประเมินผล ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครปากเกร็ด ๒.๑ ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เทศบาลนครปากเกร็ดคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่าง ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับจังหวัด และยุทธศาสตร์ การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล นครปากเกร็ด นโยบายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและความต้องการในการพัฒนาและ ใช้ยุทธศาสตร์ระดับต่าง ๆ ที่ได้กล่าวข้างต้นเป็นหลักในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา ซึ่งมีความเชื่อมโยงสรุปได้ ดังนี้ ๒.๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) วิสัยทัศน์ประเทศไทย “ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ” เป้าหมายการพัฒนาประเทศ “ ประเทศชาติมั่ นคง ประชาชนมีความสุ ข เศรษฐกิจพัฒนาอย่ างต่อเนื่ อง สั งคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน ” โดยมียุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร ได้แก (๑) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ( ๓) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (๔) ยุทธศาสตรชาติดานการสรางโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (๕) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๖) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ๒.๑.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) โดยกำหนด เป้าหมายหลักของการพัฒนา จำนวน ๕ ประการ ประกอบด้วย ๑) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ๒) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ ๓) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม ๔) การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน ๕) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง ภายใต้บริบทโลกใหม่

RkJQdWJsaXNoZXIy MTQ0NjMy