รายงานผลการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

4 ขั้นตอนที่ ๓ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่ น ดำเนินการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๑ หมวด ๖ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ข้อ ๒๙ (๒) ขั้นตอนที่ ๔ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นรายงานผลและเสนอความเห็นซึ่ งได้ จากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภา ท้องถิ่นและคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายในสิบห้าวันนับแต่วันรายงานผลและเสนอความเห็นดังกล่าวและ ต้องปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคม ของทุกปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๖ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ข้อ ๒๙ (๓) ขั้นตอนที่ ๕ ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามและประเมินผลต่อสภาท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายใน สิบห้าวันนับแต่วันผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามและประเมินผลดังกล่าวและต้องปิดประกาศโดยเปิดเผย ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปีตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๖ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ข้อ ๒๙ (๕) ๔. เครื่องมือการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาล ตามคำสั่งที่ 1685/๒๕๖7 ได้กำหนด ให้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล ดังนี้ ๑. แบบรายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการเป้าหมายรวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณ ๒. แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของเทศบาล นครปากเกร็ด โดยให้คะแนนตั้งแต่ ๑ - ๑๐ โดยการสุ่มตัวอย่างจากประชากรในเขตพื้นที่ ๕. ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผล 1. เทศบาลได้รับทราบความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของทุกส่วนราชการ 2. เทศบาลได้รับทราบระดับความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานของเทศบาลแต่ละ ยุทธศาสตร์การพัฒนา 3. ส่วนราชการในสังกัดสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และสนองตอบความต้องการของประชาชนมากขึ้น 4. ผู้บริหารเทศบาลมีข้อมูลประกอบการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการต่าง ๆ ในปีงบประมาณ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕. ประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลการจัดทำโครงการพัฒนาในแต่ละปีงบประมาณได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTQ0NjMy